สองวีรสตรีเมืองถลาง ซึ่งเป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวภูเก็ตที่กอบกู้บ้านเมืองจับดาบออกศึกขับไล่พม่าในศึก9ทัพ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา โดยท่านทั้งสองคือย่ามุกย่าจัน หรือ ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร ที่เคารพเลื่อมใสของคนทั้งจังหวัดภูเก็ต แต่กลับมีการตีพิมพ์โดยผิดเพี้ยนและมีความหมายที่สื่อความหมายที่ผิดเพี้ยนและเป็นการไม่บังควร จากทำว่า “ท้าว” มาเป็น “เท้า” โดยทางหนังสือเล่มดังกล่าวใช้ภาษาไทยที่สื่อความหมายในทางดูหมิ่น ว่า เท้าเทพกระษัตรี-เท้าศรีสุนทร ซี่งภาษาไทย คำว่า “เท้า” ซึ่งแปลว่า “ส้นตีน”
หลังมีการเผยแพร่เรื่องดังกล่าวในโลกออนไลน์ ได้มีการก๊อปปี้เรื่องราวดังกล่าวไปยังไลน์ในกลุ่มต่างๆของชาวภูเก็ต จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และแสดงความไม่พอใจอย่างกว้างขวาง
ล่าสุดเมื่อบ่ายวันนี้ นางกรทิชาต์ วัฒนพันธ์ เลขานุการคระกรรมการบริหาร มูลนิธิท้าวเทพกรัตรี-ท้าวศรีสุนทร ได้มีหนังสือด่วนที่สุดถึง คุณวรเนติ หล้าพระบาง ซีอีโอ ไทยสมายล์ แอร์ไลน์ ระบุว่าตามที่สื่อสิ่งพิมพ์ของท่านคือ we smile ฉบับเดือนเมษายน 2558 ที่วางให้นักท่องเที่ยวอ่านบนเครื่องบิน มีข้อความเกี่ยวกับจังหวัดภูเก็ตและได้กล่าวถึงอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร ซึ่งท่านทั้งสองถือเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่สื่อส่งพิมพ์ของท่านขาดความรอบครอบ ขาดความละเอียด เขียนชื่อ ท้าวเทพกรัตรี-ท้าวศรีสุนทร ผิด (ตามเอกสารที่แนบมา) ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ดังนั้นทางมูลนิธิท้าวเทพกรัตรี-ท้าวศรีสุนทร จึงใคร่ขอความกรุณาให้เก็บหนังสือดังกล่าวด่วนที่สุด เพราะกระทบต่อความรู้สึกของชาวภูเก็ตอย่างยิ่ง
สำหรับประวัติของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร สองวีรตรีเมืองถลาง บนแผ่นดินถลาง มีบันทึกไว้ว่า

ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นนามเทิดพระเกียรติแห่งวีรกรรมที่ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ ท่านผู้หญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุก เป็น ท้าวศรีสุนทร

ท่านทั้งสอง เป็นบุตรีของเจ้าเมืองถลาง นามว่า พระถลางจอมร้าง (บ้านตะเคียน) และ แม่เซีย หรือหม่าเสี้ย ก็เรียก กล่าวกันว่า มารดาท่านมีเชื้อสายเจ้าเมืองไทรบุรี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 4 คน โดยคุณจันเป็นบุตรีคนหัวปี คนรองคือ คุณมุก คนที่สามเป็นหญิง ชื่อหมา คนที่สี่เป็นชายชื่ออาด (ต่อมาได้เป็นพระยาถลาง ตำแหน่งเจ้าเมืองถลางอีกคนหนึ่ง) คนสุดท้ายเป็นชายชื่อเรือง (ได้เป็นพระพล ตำแหน่งปลดเมืองถลางต่อมาด้วย)

คุณจัน นั้น คาดคะเนกันว่า ท่านน่าจะเกิด ระหว่างปี พ.ศ. 2278 – 2283 ในรัชสมัยแผ่นดิน พระเจ้าบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ส่วนคุณมุกก็คงจะเป็นน้องสาว วัยไล่เลี่ยกับท่าน เพราะระหว่างนำสู้ศึกถลาง ท่านน่าจะมีอายุระหว่าง 45 – 50 ปี

ในวัยเด็กท่านอยู่กับครอบครัว บิดา มารดาท่านตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านตะเคียน (ชาวถลางปัจจุบันเรียกว่า บ้านเคียน) เนื่องด้วยท่านทั้งสองเป็นเชื้อสายของเจ้าเมือง คงได้รับการอบรม และฝึกสอนให้มีจิตใจ เข้มแข็ง อดทน รู้หลักการปกครองผู้คนได้ ท่านทั้งสอง จึงเป็นคนที่แข็งแกร่ง เยี่ยงอย่างชาย ไม่อ่อนแอเหมือนหญิงทั่วไป ซึ่งความเข็มแข็ง อดทนนั้น เป็นลักษณะพิเศษ ที่อยู่ในบุคลิกท่าน ที่เราได้ทราบเรื่องของท่านในต่อมา เมื่อถึงวัยสาว ประมาณ พ.ศ. 2297 คุณจันได้แต่งงาน กับหม่อมศรีภักดี บุตรจอมนายกองเจ้าเมืองตะกั่วทุ่งมีลูกด้วยกัน 2 คน คนโตเป็นผู้หญิงชื่อ ปราง คนเล็กเป็นชายชื่อ เทียน คุณจันแต่งงาน และย้ายไปอยู่ที่ตะกั่วทุ่ง ได้เพียง 5 ปี หม่อมภักดี ก็ถึงแก่กรรม จึงหอบลูกน้อยกลับไปอยู่ที่บ้าน พระยาถลางจอมร้างที่บ้านเคียนตามเดิม ส่วนคุณมุกนั้น ไม่มีบันทึกว่า ท่านได้เข้าพิธีแต่งงาน สันนิษฐานกันว่า ท่านครองโสดอยู่กับบิดา มารดาที่บ้านเคียน และเมื่อพี่สาวต้องหอบลูกๆ กลับมาอยู่บ้านเดิมอีกครั้ง คุณมุก คงจะรับภาระเลี้ยงดูหลานๆ

สันนิษฐานกันว่า บุคลิกและอุปนิสัยคุณจันคงจะเป็นหญิงที่มีบุคลิกสง่า คล่องแคล่ว มีความรอบรู้การบ้านการเมืองดี ไม่ชอบที่จะอยู่เฉยๆ เป็นลูกสาวเจ้าเมือง ที่อยู่ในระดับ ปกครองบ้านเมือง ได้รู้จักมักคุ้นกับบุคคลในวงการเดียวกันเรื่อยมา ในชีวิตส่วนตัวของท่านนั้น เป็นหม้ายอยู่ได้ 3 ปี ประมาณปี พ.ศ. 2305 ท่านได้สมรสใหม่กับ พระยาพิมล ( ขัน ) ซึ่งเจ้านครศรีธรรมราช ผู้มีอำนาจปกครองดูแล หัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด ขณะนั้น เจ้านครศรีธรรมราช ได้ส่ง พระยาพิมล ( ขัน ) มาช่วยราชการอยู่ที่เมืองถลาง ชีวิตครอบครัวใหม่ ของท่านนั้น มีบุตรใหม่อีก 3 คน คนโตเป็นผู้หญิงชื่อ ทอง คนกลาง และคนสุดท้ายเป็นชาย ชื่อจุ้ยกับเนียม

ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ขณะที่กรุงศรีอยุธยากำลังคับขัน ใกล้เสียกรุงประมาณต้นปี 2310 นั้น พระยาถลางจอมร้างได้ถึงแก่กรรมลง พระยาถลางอาด ได้เป็นเจ้าเมืองแทน แต่ได้มีเรื่องหมางใจ กับพี่เขยพระยาพิมล ( ขัน ) และได้ร้องฟ้องไปถึง เจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับตัดสินความ ให้พระยาพิมล ( ขัน ) ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ซึ่ง คุณจันไม่ได้ ตามไปอยู่ที่ เมืองพัทลุงด้วย กลับพาลูกๆ และคุณมุกไปอยู่กับเครือญาติ หม่อมศรีภักดี ที่เมืองตะกั่วทุ่ง

เมื่อพระยาพิมล ( ขัน ) ถูกสั่งย้ายให้ไปปกครองเมืองพัทลุงนั้น ได้ทำนุบำรุงบ้านเมือง ให้อยู่เป็นสุขสบาย ไปตั้งชุมชนใหม่ เรียกว่า บ้านพระยาขัน ( อยู่ในเขต ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง จนถึงทุกวันนี้ ) นับว่าเป็นผู้มีความสามารถ ในการปฏิบัติราชการ ตามแบบอย่างเจ้าเมืองที่ดี ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยา แตกพ่ายแพ้ต่อสงครามเมื่อปี 2310 ต่อมาพระสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกรีฑาทัพ เพื่อปราบหัวเมือง ที่ตั้งตัวเป็นก๊กต่างๆ นั้น เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ซึ่งปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ ก็ตั้งตัวเป็นอิสระบ้างในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงนำกองทัพเข้าปราบ เมืองนครศรีธรรมราช ได้แต่เจ้านครศรีธรรมราช หนีไปทาง เมืองพัทลุง พระยาพิมล ( ขัน ) ได้พาหนีต่อทว่าถูกจับตัวได้ ในคราวนั้นพระยาพิมลขัน ได้รับการอภัยโทษ ไม่ถูกจองจำเหมือน เจ้าพระยานครศรีธรรมราช แต่ต้องพ้นจากตำแหน่งเจ้าเมืองพัทลุง ซึ่งท่านก็มิได้ย่อท้อ ท่านเปลี่ยนเข็มชีวิตใหม่ เป็นพ่อค้า ติดต่อค้าขายถึงเกาะปีนัง ซึ่งระยะนี้พระยาพิมล ( ขัน ) ได้มีโอกาส กลับมาพักแรมกับครอบครัว ที่ตะกั่วทุ่ง และมีบุตรเพิ่มขึ้นอีก 2 คน เป็นหญิงชื่อ กิม และเมือง โดยในขณะที่พระยาพิมล (ขัน) ทำการค้าขายนั้น ท่านได้คุ้นเคย กับชาวอังกฤษ สนิมสนมเป็นเพื่อนรักกันคือ กัปตันฟรานซิสไลท์ นายทหารเรือนอกประจำการ ของอังกฤษ รับตำแหน่ง เป็นนายพานิช สังกัดบริษัทอีสอินเดีย มีสำนักงานใหญ่ อยู่ที่เมืองเบงกอล ทางตอนใต้ของอินเดีย

โดยประวัติของกัปตันฟรานซิสไลท์มีดังนี้ กัปตันไลท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2288 ที่เมืองซัฟฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เป็นนายทหารเรือ ยศเรือโท ประจำอยู่ในเรือแอโรเก้น ( H.M.S.Arrogant ) ครั้น พ.ศ. 2308 ได้ลาออกจากราชการเป็นนายพานิชสังกัด บริษัท อีสอินเดีย ของอังกฤษ โดยเป็นกัปตันเรือ ค้าขายระหว่างอินเดีย กับชายฝั่งตลอดแหลม มลายู เช่น เมืองตะนาวศรี มะริด เมืองถลาง เมืองไทรบุรี ปีนัง และ มะละกา เป็นต้น ระหว่างที่จอดเรือตามเมืองท่าต่างๆ นั้น ก็จะนำสินค้าจากอังกฤษและยุโรป ส่งขาย และรับสินค้าพื้นเมืองกลับไปขาย เมื่อเรือเข้าเทียบท่า ที่เมืองถลางสินค้าที่ส่งขาย ได้แก่ เสื้อผ้าแพรพรรณ อาวุธยุทธปัจจัย ยาฝิ่น แล้วรับซื้อดีบุก ยางสน ไข่มุก งาช้าง หนังสัตว์ และ อำพันทอง ( สมุนไพร ) กัปตันไลท์ ดำเนินกิจการค้า ด้วยนโยบายแฝงด้วยการเมืองอยู่ด้วย เมื่อเข้าติดต่อค้าขายกับเมืองไทย ก็สร้างมิตรไมตรีกับเจ้าเมืองเสมอ

ในปี พ.ศ. 2319 เจ้านครศรีธรรมราช ผู้ถูกอาญาจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นำตัวมาคุมไว้ ที่กรุงธนบุรีนั้นได้ แสดงความจงรักภักดี ช่วยราชการต่างๆ จนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไว้วางพระราชหฤทัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับไป ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช หัวเมืองประเทศราชฝ่ายใต้อีก เมื่อได้รับอำนาจกลับคืนมา เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ระลึกถึง คุณงามความดีที่พระยาพิมล ( ขัน ) เป็นผู้ภักดีในยามยาก จึงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองถลางขึ้นใหม่ แทน พระยาถลางอาด ที่ปกครองบ้านเมือง ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม จนถูกชาวเมืองเป็นกบฏ สู้รบกันจนถูกยิงตาย แล้วพระยาพิมล ( ขัน ) ได้รับแต่งตั้ง ให้เป็น พระยาสุรินทราชา เจ้าเมืองถลาง ในปี พ.ศ. 2319 และคุณจันก็ได้เป็นท่านผู้หญิงภริยาเจ้าเมือง ชีวิตครอบครัวกลับคืน สู่ความผาสุกอีกครั้งหนึ่ง

ความสนิมสนม ของเจ้านครศรีธรรมราช พระยาพิมล ( ขัน ) และกัปตันไลท์ ได้เกิดขึ้นกลมเกลียวกัน ในปีนั้นเอง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระบรมราชโองการโปรดฯ ให้เจ้าพระนครศรีธรรมราช จัดส่งอาวุธปืน เพื่อใช้ป้องกันพระนคร กัปตันไลท์ ได้จัดหาอาวุธปืน และยุทธปัจจัยขึ้นทูนเกล้าฯ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตามพระราชประสงค์ จึงได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์ให้เป็น พระยาราชกปิตัน พร้อมกับพระราชทานดีบุกจำนวน 100 ภารา ( มาตราชั่งน้ำหนัก ) ตอบแทนด้วย
พระยาราชกปิตัน หรือกัปตันไลท์ ยังมีชื่อเรียก ในหมู่คนไทย และในจดหมายเหตุหลายชื่อ เช่น พระยาราชกปิตันเหล็ก หรือกปิตันเหล็ก กปิตันลาด ท่านราชโต๊ะ โตกพระยา ละโตก เป็นต้น ความสนิทสนมระหว่าง กัปตันไลท์ กับบรรดาเจ้าเมืองฝ่ายไทยหลายท่าน ทำให้ท่าน รู้จักภาษาไทยแตกฉาน มีบันทึกเล่าว่าท่านได้สมรส กับหญิงชาวถลางเชื้อสายโปรตุเกส ชื่อ มาตินา โรเซลล์

นอกเหนือจากมีความสนิทสนมกับเจ้าเมือง ในหัวเมืองฝ่ายใต้ และพระมหากษัตริย์ไทยแล้ว ยังมีบันทึกว่า ในปี พ.ศ. 2329 กัปตันไลท์ ได้เจรจากับเจ้าเมืองไทยบุรีขอเช่า เกาะหมากหรือเกาะปีนัง เป็นสถานีการค้า และสถาปนาตนเอง เป็นเจ้าเมืองด้วย แล้วเปลี่ยนชื่อเกาะปีนังใหม่ว่า ปริ้นออฟเวลส์

ต่อมาเมื่อมีการติดต่อค้าขายกับกัปตันไลท์ หรือพระยาราชกปิตัน ซึ่งนำเรือเข้าเทียบท่าเรือเมืองถลาง ( คือบ้านท่าเรือในปัจจุบัน ) เสมอ อีกทั้งพระยาพิมล ( ขัน ) เอง ยังคงมีเรือออกเที่ยวติดต่อค้าขาย จึงได้ออกมาสร้างบ้านอีกหลังไว้ที่ท่าเรือ เพราะมีจดหมายเหตุ ของกัปตันฟอร์เรสต์ชาวอังกฤษกล่าวถึง บ้านเจ้าเมืองถลางว่า มีอยู่ 2 แห่ง คือที่บ้านท่าเรือ และ บ้านเคียน จึงสันนิษฐานกันว่า ที่บ้านเคียนนั้น เป็นบ้านที่พระยาถลางพิมล ( ขัน ) อาศัยอยู่กับครอบครัวอย่างถาวร ส่วน บ้านท่าเรือ ใช้เป็นที่พักสำหรับ ออกมาตรวจราชการ เกี่ยวกับเรือสินค้า คอยดูเรื่องการ เก็บภาษีอากรอย่างใกล้ชิด และถูกต้อง เรียบร้อยตามกระบวน ความยุติธรรม อีกทั้งเป็นที่รับแขกบ้านแขกเมือง พ่อค้าวานิชทั้งหลาย ที่นำเรือสินค้า เข้ามาติดต่อค้าขาย ในบันทึกนั้นเล่าไว้ว่า จากบ้านท่าเรือนั้น พระยาถลางขึ้นช้างเดินไป ประมาณ 7 ไมล์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก็จะถึงบ้านพระยาถลาง อีกแห่งหนึ่ง เป็นเรือนไม้มุงจาก มีสวนผลไม้หลายอย่าง ในบริเวณบ้าน ซึ่งเป็นระยะทางจากบ้านท่าเรือ (เขตตำบลศรีสุนทร) ถึงบ้านเกาะเคียน หรือบ้านเคียน (เขตตำบลเทพกระษัตรี) อำเภอถลางในปัจจุบัน

หลักฐานที่แจ้งชัดว่า พระยาพิมล ( ขัน ) หรือพระยาสุรินทราชา ได้มีบ้านพักถาวร อยู่ที่บ้านเคียน และบ้านรับรองอยู่ที่ท่าเรือนั้น ดูได้จากจดหมาย ที่ท่านผู้หญิง เขียนถึงพระยาราชกปิตันหรือ กัปตันไลท์ ประมาณต้นปี พ.ศ. 2328 ในขณะที่กัปตันไลท์ นำเรือมาเทียบท่า ขนส่งและรับซื้อสินค้าเหมือนเช่นเคย แต่ทว่าระยะสั้น การค้าขายของกัปตันไลท์ ก็คงจะฝืดเคืองเช่นกัน เมื่อ มาถึงเมืองถลางก็ให้คน ถือจดหมายไปทวงหนื้สินที่ยังค้างกันอยู่

ปัญหาหนี้สินที่พระยาพิมล ( ขัน ) ติดค้างอยู่กับกัปตันไลท์นั้น คงจะเป็นหนี้สินอันเกี่ยวกับ การจัดซื้ออาวุธยุทธโธปกรณ์ ที่ได้ขอให้กัปตันไลท์ จัดซื้อไว้ป้องกันเมือง เพราะดูจากสมัยที่ท่าน ได้รับตำแหน่ง เป็นพระยาถลางใหม่ๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2319 – 2320 นั้น ก็เคยขอให้กัปตันไลท์ ช่วยจัดซื้ออาวุธปืนให้ โดยทำสัญญาแลกเปลี่ยนดีบุก ในสมัยที่นำส่งไปช่วยเจ้าพระยานครฯ และต่อมาในปี พ.ศ. 2325 คราวที่ในกรุงผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นครองราชย์นั้น กัปตันไลท์ส่งข่าวมาบอกว่า ทางพม่า เตรียมการศึกไว้ หวังที่จะยึดเอาเมืองสยามให้ได้ ในฐานะที่พระยาพิมล ( ขัน ) เป็นเจ้าเมืองถลาง ก็จะต้องเตรียมสะสมอาวุธ โดยสั่งซื้อจากกัปตันไลท์ไว้ด้วย จึงมีอาวุธ เหลือไว้ให้ ท่านผู้หญิงจัน ได้ใช้ป้องกันเมือง ระหว่างที่ถูกข้าศึกเข้าล้อมอยู่ ในจดหมายทวงหนี้ ของกัปตันไลท์ ได้บอกข่าวศึกว่าพม่า เตรียมยกทัพมาแน่ๆ ขอให้พระยาถลาง จัดเตรียมสู้ไว้ และศึกครั้งนี้ กัปตันไลท์คงจะต้องออกเรือหนีภัยศึก อันใหญ่หลวงออกไป จากถลางชั่วคราว ไม่ทราบว่านานเท่าใด จึงได้ทวงหนี้สินที่คั่งค้างกันอยู่ และจากข้อความในจดหมาย ของท่านผู้หญิงจัน ที่มีถึงกัปตันไลท์ ขอผัดผ่อนหนี้สิน ก็เพราะขณะนั้นพระยาสุรินทราชา เจ้าเมืองถลาง กำลังป่วยหนักอยู่ ซึ่งก็ไม่ทราบสาเหตุเช่นกันว่า เจ็บป่วยด้วยโรคอะไร ข้อความในจดหมาย ของท่านผู้หญิงจัน ซึ่ง คุณ ประสิทธิ์ ชิณการณ์ และ อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธสิทธิ์ ได้ช่วยกันถอดข้อความ เป็นภาษาไทยปัจจุบัน และนำลงพิมพ์ไว้ใน เอกสาร “จดหมายเหตุเมืองถลาง 13 มีนาคม 2525″ นั้นมีข้อความ ตอนสำคัญว่า

” … ด้วยมีหนังสือไปนั้น ได้แจ้งแล้ว ครั้นจะเอาหนังสือไปเรียนแก่พญาถลาง ๆ ป่วยหนักอยู่แล ซึ่งว่า มาค้าขาย ณ เมืองถลางขาดทุนหนักหนาช้านานแล้วนั้น เห็นธุระของตะโกลาอยู่ แต่หากว่าลาโตกเมตตา เห็นดูข้าเจ้าจึงเปลืองทุนเป็นอันมากทน ระมานอยู่ด้วยความเห็นดู แลซึ่งว่าแต่งกำปั่นแล้วจะลากลับไป แลมีราวข่าวว่า พม่าจะมาตีเมืองถลาง ท่านพญาถลางเจ็บหนักอยู่ ถ้าพม่ายกมา จึงข้าเจ้าจะได้พึ่งตาโลก เป็นหลักที่ยุคต่อไป แลซึ่งว่าจะเอาดีบุกค่าผ้านั้น ท่านพญาถลางยังเจ็บหนัก มิได้ ปรึกษาว่ากล่าวก่อน ถ้าท่านพญาถลางคลายป่วยแล้วจะได้ปรึกษาว่ากล่าวจักเตือนให้ …”

จดหมายฉบับนี้ท่านผู้หญิงได้เขียนเมื่อเดือนอ้าย ปีมะเส็ง จุลศักราช 1147 หรือ พ.ศ. 2328 ก่อนที่สงครามจะถึงถลางประมาณ 2 เดือนเท่านั้น

สงครามใหญ่ที่รุกรานไปถึงถลางนั้นก็คือ สงครามเก้าทัพ ที่พระเจ้าประดุง กษัตริย์พม่า กรีฑาบุกไทย พร้อมกันทุกด้าน นับแต่หัวเมืองเหนือจรดใต้ โดยหมายยึดเมืองไทยให้ได้ เมื่อต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2328 นั้น ทางหัวเมืองฝ่ายใต้ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ( เขตอำเภอท้ายเมืองปัจจุบัน ) เรื่อยลงมาถึงเมืองถลาง แม่ทัพพม่า ที่นำบุกหัวเมืองฝ่ายใต้นั้นคือ พระเจ้าอังวะ คุมกองทัพบก กองทัพเรือ ตีตะลุยเรื่อยมา ยี่หวุ่นแม่ทัพเรือพม่า ได้นำทหารเข้าล้อมเมืองถลางไว้ เมื่อพิจารณาจากลำดับเหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ ในขณะที่เมืองถลางถูกทัพพม่าล้อมไว้นั้น พระยาถลาง ได้ถึงแก่อนิจกรรมลง ในราวเดือน ธันวาคม 2328 หลังจากที่ท่านผู้หญิงจัน จดหมายถึงกัปตันไลท์ ไม่กี่วันนั่นเอง นับระยะเวลาที่พระยาพิมล ( ขัน ) เป็นเจ้าเมืองถลางอยูได้ 10 ปี

ความสำคัญของ บ้านเคียน อันเป็นที่อยู่ถาวร ของครอบครัวท่านผู้หญิงจันนั้น ในคราศึกถลาง ก็ได้ใช้เป็นที่ตั้งค่ายยึดชัยภูมิ อย่างขันแข็ง สู้กับกองทัพพม่าเรียกว่า ค่ายบ้านเคียน อยู่ติดกับค่ายใหญ่ อีกค่ายหนึ่ง ที่หลังวัดพระนางสร้างตั้งประจันหน้า สู้กับพม่าที่ตั้งค่าย รายล้อมอยู่กลางทุ่ง ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า บ้านโคกพม่า ที่ทราบเช่น ก็เนื่องจากได้พบข้อความในจดหมาย ที่ท่านผู้หญิงจัน เขียนถึงกัปตันไลท์ ประมาณเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2329 เล่าถึงสภาพบ้านเมืองในยามศึกไว้ตอนหนึ่งว่า

“… แลอนึ่ง เมื่อพม่ายกมานั้น พญาธรรมไตรโลกให้เกาะเอาตัวตูข้าไปไว้ ณ ปากพระ ครั้นพม่ายกมาตีปากพระได้ กลับแล่นหนีมา ณ บ้าน แลคนซึ่งให้รักษาบ้านเรือนอยู่นั้น แล่นทุ่มบ้านเรือนเสียข้าวของทั้งปวงเป็นอันณราย มีคนเก็บรับเอาไปสิ้น แลอยู่ทุกวันนี้ ยากจนขัดสนเป็นยิ่งนัก…”

ข้อความเกี่ยวกับตัวท่านเล่าว่า ก่อนศึกนั้น ได้ถูกพระยาธรรมไตรโลก นำตัวท่านและครอบครัว ไปอยู่ที่ค่ายปากพระ นั้น คงเป็นเรื่องการระดมไพร่พล จากเมืองถลางให้ไปช่วยป้องกัน ค่ายปากพระ ในขณะนั้น เจ้าเมืองถลางถึงอนิจกรรมแล้ว อีกทั้ง ปลัดและกรมการเมือง ที่ช่วยราชการ ในเมืองถลางนั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็น ลูกหลานท่าน ท่านผู้หญิงจัน ในฐานะภริยาเจ้าเมือง และอาวุโสที่สุด จึงต้องรับภาระ เป็นหัวหน้าไพร่พล ยกไปช่วยป้องกันค่ายหลวงที่ปากพระก่อน

ครั้นเมื่อพม่า ตีค่ายปากพระ แขวงเมืองตะกั่วทุ่งแตก ด้วยความเป็นห่วงบ้าน และชาวเมืองถลาง ท่านจึงนำไพร่พล กลับมาป้องกันเมืองถลาง ซึ่งระหว่างนั้น ทางกรุงเทพฯ ก็ยังไม่ได้ตั้งใคร เป็นเจ้าเมืองถลางคนใหม่ ในความรับผิดชอบ ต่อบ้านเมืองและทำหน้าที่ แทนสามีที่เป็นเจ้าเมืองถลาง ประกอบกับเคยได้รับการฝึกสอน ให้อดทนเข้มแข็งจากบิดา ผู้เป็นจอมร้างบ้านเคียน ท่านจึง ได้ชวนคุณมุก ผู้เป็นน้องสาวที่สนิท และติดตามไปช่วยดูแลหลานๆ นำไพร่พล และชาวถลาง ตั่งมั่นสร้างค่ายรายล้อมต่อสู้กับข้าศึก

โดยใช้กลลวงทางยุทธวิธีอันแยบยล จนพม่าต้องเลิกทีพกลับไปเมื่อ วันที่ 24 มีนาคม 2328 อันเป็นวันชนะศึกถลาง

สำหรับข้อความที่ว่า เมื่อท่านผู้หญิงจันนำไพร่พลหนีวงล้อมพม่า ครั้นถึงบ้านเคียน ที่ท่านอาศัยอยู่นั้นถูกทิ้งร้าง ไม่มีใครช่วยดูแลให้ข้าวของ ก็ถูกขโมยไปจนหมดสิ้นนั้น นับเป็นสภาพบ้านเมือง ที่เรียกว่าบ้านแตกสาแหรกขาด สภาพการณ์เช่นนี้ สายเลือดที่เป็นนักปกครอง นักสู้ท่านจึงมีมานะรวบรวมไพร่พลเข้าสู้กับข้าศึก

หลังจากเสร็จสิ้นการศึกถลาง ได้ประมาณ 7 เดือน ท่านผู้หญิงจันได้มีจดหมายถึง กัปตันไลท์ เล่าถึงสภาพบ้านเมือง ในยามศึก ให้ทราบแล้ว ได้เล่าถึงชีวิตครอบครัว ของท่านระยะนั้น ยากจนลงท่านต้องอพยพ ไปทำเมืองดีบุกที่บ้านตะปำ ( สะปำอยู่เหนือบ้านท่าเรือ ) เพื่อกอบกู้สภาพการ เศรษฐกิจของเมืองถลางให้ดีขึ้น โดยเอาดีบุก ส่งขาย แลกกับ ข้าวปลาอาหาร เลี้ยงผู้คน พลเมือง ดังข้อความในจดหมายตอนหนึ่งว่า

“… แลที่อยู่ทุกวันนี้ ณ เมืองถลาง พม่าตีเอาบ้านเมืองเป็นจุลาจน อดข้าวปลาอาหารเป็นหนักหนา ตูข้ายกมาตั้งทำดีบุกอยู่ ณ ตะปำ ได้ดีบุกบ้างเล็กน้อย เอาซื้อข้าวแพง ได้เท่าใดซื้อสิ้นเท่านั้น …”

“… อนึ่ง ตูข้าได้จัดดีบุกสิบภารา เป็นส่วนเจ้าหลิบแปดภารา ส่วนตูข้าสองภารา จัดมาให้แก่ท่านแลเจ้าหลิบนั้น ได้แต่ง ให้จีนเฉียวพี่ชายแลตูข้าได้แต่งนายแช่มจีน เสมียนอิ่ว คุมเอาดีบุกไปเถิงท่าน ให้ช่วยจัดข้าวของให้ อนึ่งถ้าข้าว ณ เกาะปูเหล้าปีนัง ขัดสน ขอให้ท่านช่วยแต่งผู้หนึ่ง ผู้ใด ไปช่วยจัดซื้อข้าว ณ เมืองไซ ถ้าได้ข้าวของแล้ว ขอท่านได้ช่วย แต่งสลุบกำปั่น เอามาส่งให้ทัน ณ เดือนสิบเอ็ด เห็นว่าจะได้รอดชื่อ เห็นหน้าท่านสืบไป เพราะในบุญของท่าน และธุระซึ่งว่ามานี้ แจ้งอยู่แก่ใจกปิตันลินสิ้นทุกประการ”

ในระยะนั้นการทำเหมืองดีบุกคงจะช่วยกอบกู้การเศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ข้อความในจดหมาย คำว่าภารานั้น เป็นมาตราชั่งน้ำหนักในสมัยโบราณ อัตราส่วน นน. 1 ภารา มีค่าเท่ากับค่าของทองคำหนัก 400 ชั่ง ( 1 ภารา = 20 ตุล, 1 ตุล = ทองคำ 20 ชั่ง )

หลังจากที่ท่านผู้หญิงจัน และ คุณมุกนำไพร่พล และชาวเมืองถลางสู้ศึกถลาง จนปกป้องบ้านเมือง ให้พ้นภัยแล้วนั้น บันทึกในพงศาวดารเมืองถลางกล่าวว่า ท่านได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็น ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทรนั้น ในบันทึก ไม่ได้ลงข้อความละเอียดว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อใด และขุนนางใดเป็นผู้นำหนังสือ และตราตั้งนั้นมามอบให้ท่านผู้หญิง ก็เนื่องจากนักประวัติศาสตร์ ยังหาร่องรอย หลักฐานตราประทับ หรือหนังสือแต่งตั้งไม่พบ จึงเพียงทราบกันว่า ท่านได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าท่านผู้หญิงจันจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ทว่าท่านก็คงยังใช้ชีวิต เป็นผู้นำครอบครัว ลูกๆ หลาน ๆ เหมือนภริยา เจ้าเมืองถลางในอดีต และในระหว่างที่ทางกรุงเทพ ยังไม่ได้จัดแต่งตั้งให้ผู้ใด เป็นเจ้าเมืองถลางสืบต่อจาก พระยาพิมล ( ขัน ) นั้น ในประมวลความ ในประวัติศาสตร์ ซึ่งรวบรวมจากบันทึกเหตุการณ์ และจดหมายถึงกัปตันไลท์

ท่านผู้หญิง ได้รับการขอร้อง จากคุณเทียน ลูกชายคนโตที่เกิดกับ หม่อมศรีภักดีบรรดาศักดิ์ ขณะนั้นเป็นพระยาทุกราช ช่วยราชการเมือง ให้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลมหาราช และ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เพื่อแสดง ความจงรักภักดี และขอผัดผ่อนการชำระภาษีอากร ที่เจ้าเมืองถลางพระพิมล ( ขัน ) ได้รับหนังสือเร่งรัด ให้ส่งภาษีและอากร ให้ท้องพระคลังให้ครบ นอกจากนั้น นัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็เพื่อที่จะกราบทูล ให้ทรงพระราชวินิจฉัยให้ พระยาทุกราชหรือ คุณเทียน ได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเจ้าเมืองถลางด้วย ซึ่งกำหนดการท่านผู้หญิง ได้เขียนจดหมายถึงกัปตันไลท์ ขอให้ซื้อสิ่งของต่างๆ เพื่อ นำไปทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ สมเด็จกรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในครั้งนั้น โดยนัดให้กัปตันไลท์นำของต่างๆ ไปส่งที่เกาะตะลิบง ( เขตจังหวัดตรังในปัจจุบัน ) ซึ่งอยู่กลางทางในราวเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2330 ดังข้อความใจจดหมายกล่าวไว้ว่า

“… ข้าพเจ้าจะเข้าไปกรุงแน่ แต่จ

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.