ภูเก็ต เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ห่าง จากกรุงเทพฯ 862 กม. เป็นเกาะเดียวที่มีฐานะเป็น จังหวัด คำว่าภูเก็ตมาจาก “ภูเก็จ” ซึ่งมีความหมายว่าภูเขา แก้ว ได้รับสมญานามว่า มุกงามของไทย เป็นเกาะที่มีชื่อ เสียงมาแต่โบราณ เคยเป็นดินแดนแห่งเศรษฐีเหมืองแร่ดีบุก มีแร่ดีบุกมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งการขุดแร่ดีบุกที่ภูเก็ต มีประวัติความเป็นมากว่า 500 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีการ ปลูกยางพารา ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ และทำการ ประมง ในตัวเมืองภูเก็ตยังสามารถพบตึกสมัยเก่าแบบยุโรปที่ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ ภูเก็ตเป็นเกาะที่สวยงาม มีชาย ทะเลและขุนเขาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง มีเกาะบริวารรายรอบถึง 39 เกาะ มีพื้นที่ 543 ตรกม. เล็ก ที่สุดในภาคใต้ มีอาณาเขตเขตติดต่อกับพังงาทางด้านทิศเหนือที่ช่องปากพระซึ่งกว้างประมาณ 490 เมตร มีสะพานสาร สินเชื่อมระหว่างท่าฉัตรชัยของภูเก็ตกับท่านุ่นของพังงายาว 660 เมตร
ประชากรของจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นคนไทย นอกนั้นมีชาวมลายู แขก ซิกซ์ ปาทานกลิงค์กรูซ่า ชาวเล และชาวต่างชาติอื่นๆ ภาษาที่ใช้ในภูเก็ตมี 2 ภาษา คือ ภาษาไทย ซึ่งใช้ในราชการเป็นภาษากลาง และภาษาท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาษาปักษ์ใต้ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อาชีพของพลเมืองในด้านการเกษตรส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้
ภูเก็ต หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นโดยสิ้นเชิง คือเป็นเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภูเก็ต มีจังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงาทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยทะเลอันดามันและยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา ข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือสะพานท้าวเทพกระษัตรีเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศซึ่งมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะ ด้านทิศตะวันตก เดิมคำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณีคราม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดียโดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของปโตเลมีเมื่อประมาณ พ.ศ. 700กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายูซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ตนั่นเอง
จากประวัติศาสตร์ไทยภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนครเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตรโดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัยเมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าในสมัยอยุธยาชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ตในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุงกษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้เช่นไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล ๓,๐๐๐ คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่งและเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ผู้ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคมพ.ศ. 2328พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรีและคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็จ และเมื่อปี พ.ศ. 2476ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน |
|
|