พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

มโนมยิทธิญาณ

[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
@๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ-
@   เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ
@๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  บรรทัดที่ ๑๗๔๒ – ๑๙๑๙.  หน้าที่  ๗๒ – ๗๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1742&Z=1919&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91
—————————————————————————-
จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

การอบรมสมาธิเพื่ออภิญญา

๑. ผู้ที่มีอภิญญาได้นั้น ตามปกติต้องเป็นผู้ที่ได้ฌานและมีวสีภาวะจนสามารถเข้าฌานสมาบัติได้ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน ครบถ้วนทั้ง ๙ ฌาน มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่ได้เพียง รูปฌานสมาบัติ ๕ ก็มีอภิญญาได้ แต่ว่า ฌานลาภี ที่ได้ไม่ถึงรูปฌานทั้ง ๕ นั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีอภิญญา

๒. แม้แต่ ฌานลาภีบุคคลที่ได้ฌานสมาบัติทั้ง ๙ แล้ว จะมีอภิญญาโดยทั่วหน้าก็หาไม่ จะมีอภิญญาได้ก็ต่อเมื่อได้ฝึกฝนอบรมกันเป็นพิเศษอีกถึง ๑๔ นัยก่อน ดังต่อไปนี้

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/055.htm
————————————————–
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/058.htm
๑. อิทธิวิธอภิญญา หรือ อิทธิวิธญาณ เป็นความรู้ที่แสดงฤทธิได้ (ฤทธิ=ความสำเร็จ) ซึ่งจำแนกออกได้เป็น ๑๐ คือ

(๑) อธิฏฐานอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากการอธิฏฐาน การตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้า เช่น คนเดียวเนรมิตให้เป็นหลายคน ตัวอย่าง พระจุฬปัณถกเถระเจ้า อธิฏฐานให้เป็นพระหลายรูปจนเต็มไปทั้งวัด

(๒) วิกัพพนอิทธิ ความสำเร็จด้วยการจำแลงกายให้เป็นคนแก่ ให้เป็นเด็ก ให้เป็นเสือ เป็นช้าง เช่น พระโมคคัลลาน์ แปลงกายเข้าไปทางปากไปเดินอยู่ในท้องของ นันโทปนันทพยานาค แม้พยานาคนั้นจะมีฤทธิและมีพิษมากเพียงใด ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้

(๓) มโนมยอิทธิ ความสำเร็จด้วยอำนาจกำลังใจที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ เช่น พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้พระสรีระใหญ่โตมาก เป็นการสำแดงให้อสุรินทรยักษ์ผู้ตำหนิพระองค์ว่าทรงมีรูปร่างเล็ก เพราะเป็นมนุษย์นั้นได้เห็น ที่พระพุทธองค์ทรงกระทำได้ดังนี้ ก็เพราะทรงมีอิทธิทางมโนสูงยิ่ง

อิทธิทั้ง ๓ ข้อนี้เป็นอิทธิวิธญาณโดยตรง อันจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจแห่งอภิญญา ที่มีรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท

———————————————————–

อภิญญา ญาณ วิชา
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm

คำว่า อภิญญา นี้บางทีก็ใช้ว่า ญาณ หรือ วิชา แทนกันได้เพราะเป็นไวพจน์แก่กันและกัน เช่นกล่าวว่าญาณ ๓ หรือ วิชา ๓ ซึ่งเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ได้แก่

๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ                         ระลึกชาติได้

๒. ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ           ตาทิพย์ และรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย

๓. อาสวักขยญาณ                                       รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ

ถ้ากล่าวถึง อภิญญา ๖ ญาณ ๖ หรือ วิชา ๖ ก็ให้เพิ่มอีก ๓ คือ

๔. ปรจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ            รู้จิตใจผู้อื่น

๕. ทิพพโสตญาณ                                         หูทิพย์

๖. อิทธิวิธญาณ                                            สำแดงฤทธิได้

เฉพาะหมายเลข ๓ อาสวักขยญาณ เป็นอภิญญาที่ไม่ได้อาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาทให้เกิด แต่เป็นอภิญญาที่อาศัยเกิดจาก อรหัตตมัคคจิต จึงเรียกว่า โลกุตตรอภิญญา ส่วนที่เหลืออีก ๕ เป็นอภิญญาที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌาน อันเป็นโลกียจิตเป็นบาทให้เกิด จึงเรียกว่า โลกียอภิญญา

อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก ต้องมีใจรักอย่างที่เรียกว่า มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยเอาใจจิตใจจ่ออย่างจริงจัง ทั้งต้องประกอบด้วยปัญญารู้ว่าฌานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบาทที่ก้าวขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงตั้งหน้าเจริญภาวนาตามวิธีการจนเกิดฌานจิต ฌานจิตที่เกิดจากการปฏิบัติเช่นที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมดนี้ มีชื่อเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยการประพฤติปฏิบัติ ได้ฌานด้วยการเจริญสมถภาวนา

ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อน แต่ว่า เมื่อได้เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียวมาตามลำดับ จนบรรลุอรหัตตมัคค อรหัตตผล ก็ถึงพร้อมซึ่งฌานด้วยก็มี อย่างนี้เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค บางองค์ก็ได้ถึงอภิญญาด้วย เช่น พระจุฬปัณถกเถรเจ้า เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็มีอภิญญาด้วย คือมีอิทธิฤทธิถึงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นพระภิกษุหลายรูปจนเต็มพระเชตวันวิหาร

หมวดที่ ๑ ที่เรียกว่า สุขวิปัสสโก ท่านแปลว่า บรรลุมรรคผลได้อย่างแบบง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วไม่ง่าย ยากมากแบบสุขวิปัสสโกนี่เวลาเจริญสมาธิตามที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำอยู่ตามปกติ เป็นการทำจิตให้เป็นสมาธิเข้าถึงฌานสมาบัติ แล้วก็ตัดกิเลส ไม่สามารถจะเห็นผี เห็นนรก เห็นเทวดา เห็นสวรรค์ได้ คือไม่มีทิพจักขุญาณ

สำหรับ เตวิชโช นั้น มีความสามารถพิเศษอยู่ ๒ อย่าง คือว่ามีทิพจักขุญาณด้วย สามารถระลึกชาติด้วย และก็

ฉฬภิญโญ (อภิญญาหก) แสดงฤทธิ์ได้ มีหูเป็นทิพย์ มีตาเป็นทิพย์

ปฏิสัมภิทัปปัตโต มีความสามารถคลุมวิชชาสามและอภิญญาหก มีความฉลาดกว่า

หมวดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ไม่เหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัติคล้ายคลึงกัน เอาในกรรมฐานทั้ง ๔๐ มาแยกปฏิบัติเป็นหมวดหมู่
ทีนี้สำหรับการปฏิบัติ ถ้าจะถามว่าอย่างไหนเข้าถึงมรรคผลง่ายกว่ากัน ก็ต้องเป็นไปตามอัธยาศํยของบรรดาท่านพุทธบริษัท

สำหรับ สุขวิปัสสโก พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับผู้ที่ต้องการเรียบ ๆ ไม่ต้องการฤทธิ์เดช ทำแบบสบาย ๆ จิตใจไม่ชอบจุกจิก

สำหรับ เตวิชโช นั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับคนที่อยากรู้อยากเห็น ถ้ามีสิ่งปิดบังลี้ลับอยู่ ทนไม่ไหว ต้องหาให้พบ ค้นให้เห็น

สำหรับ ฉฬภิญโญ นั้น สำหรับคนที่ต้องการมีฤทธิ์เดชพระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไว้

สำหรับ ปฏิสัมภิทาญาณ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโต ท่านมีทั้งฤทธิ์ด้วย มีทั้งความเป็นทิพย์ของจิตด้วยมีความฉลาดด้วย สอนไว้เพื่อคนที่ต้องการรอบรู้ทุกอย่าง
ฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าทรงสอน จึงเป็นไปตามอัธยาศัยของคน

สำหรับวันนี้จะนำเอาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าส่วนหนึ่งที่เรียกว่า มโนมยิทธิ มาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท

# # # ===> มโนมยิทธิ นี่คล้ายคลึงกับ เตวิชโช แต่ว่ามีกำลังสูงกว่า เป็นกรรมฐานเพื่อนเตรียมตัวที่จะปฏิบัติเพื่อ อภิญญาหก ต่อไปข้างหน้า

สำหรับ เตวิชโช ก็ได้แก่ วิชชาสาม ก็มีทิพจักขุญาณ ซึ่งต่างกับ มโนมยิทธิ คือว่าท่านที่ได้ทิพจักขุญาณแล้วนั่งอยู่ตรงนี้ สามารถจะเห็นเทวดาหรือพรหมได้ สามารถจะคุยได้ แต่ไปหาไม่ได้ สามารถจะเห็นสัตว์นรก เห็นเปรต เห็นอสุรกายได้ แต่ว่าไม่สามารถจะไปหากันได้ เห็นอย่างเดียว

สำหรับมโนมยิทธิ ใช้กำลังของจิตเคลื่อนออกจากกายไปสวรรค์ก็ได้ ไปพรหมโลกก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ ซึ่งมีกำลังสูงกว่า ทั้งนี้เพราะว่าถือเป็นส่วนหนึ่งของอภิญญาสมาบัติ

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.